ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg
ประชุมเชิงปฏิบัติการ มุ่งสู่เป้าหมาย ยุติปัญหาเอดส์

       กทม.โดยสำนักการแพทย์ มุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ (Ending AIDS Epidermic) ในปี 2573 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ ปี 2558 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ 61,109 คน เสียชีวิตแล้ว 3,341 คน โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัส 24,871 คน (ร้อยละ 40.7) และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,771 คน ส่วนใหญ่เป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย 1,066 คน (ร้อยละ 60) รองลงมาภรรยาติดเชื้อจากสามี 259 คน (ร้อยละ 15) และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด 162 คน (ร้อยละ 9.1) ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุน้อยกว่า 25 ปี 974 คน (ร้อยละ 53.4)
วันที่ 27 เม.ย. 58 เวลา 09.00 น. นพ.สุรินทร์ กู้เจริญประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในการดูแลรักษาของโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 27 – 28 เม.ย. 58 ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์ โดยมี นพ.เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา ผู้อำนวยการกองวิชาการ กล่าวรายงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นข้าราชการระดับปฏิบัติการ – ระดับเชี่ยวชาญ ในสังกัดสำนักการแพทย์ และบุคคลภายนอกตามเป้าหมายของโครงการฯ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์ของคณะแพทยศาสตรวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
       นพ.สุรินทร์ กู้เจริญประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า เพื่อยุติการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กรายใหม่ และยุติการตายในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ (BMA2Z) ตามโครงการกรุงเทพมหานครมุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เรา” ซึ่งเป็นบุคลาการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จำเป็นต้องพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ทันสมัย และพัฒนาทักษะในการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามประสิทธิภาพการทำงาน
       นพ.เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม โดยปัจจุบันแนวทางการจัดบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โดยยึด treatment cascade ซึ่งเป็นข้อมูลเฃิงประจักษ์จากระบบติดตามผลการให้บริการของโรงพยาบาลท่รายงานผ่านฐานข้อมูล NAP-plus ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
       Treatment cascade จะแสดงให้เห็นจำนวนคาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ในปีปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีบันทึกในฐานข้อมูล จำนวนคนที่เริ่มกินยาต้านไวรัส จำนวนคนที่กำลังกินยาต้านไวรัสอยู่ในระบบ จำนวนคนที่มีผลการตรวจ VL อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี และจำนวนคนที่มี VL < 50 copies/ml โดยจะแสดงการลดหลั่นของจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละระดับของการติดตาม ซึ่งจำนวนที่หายไปหรือรั่วออกจากระบบ คือเป้าหมายที่โรงพยาบาลทุกแห่งต้องค้นหาและปิดรูรั่ว โดยอาศัยมาตรการ Recruit – Test – Treat – Retain (นำผู้ติดเชื้เข้าสู่ระบบ – ตรวจหาการติดเชื้อ – รักษาด้วยยาต้านไวรัส – ทำให้คงอยู่ในระบบ) ร่วมด้วยการทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่อยู่ในการดูแลรักษาของโรงพยาบาล เพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้อย่างครอบคลุมและต่อเนื่องต่อไป

>>>>>>> ดูรูปภาพ <<<<<<   คลิ๊กที่นี้